696 acknowledgment

กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยนี้สาเร็จลุล่วงไปด้วยดีด้วยการสนับสนุน ทุนวิจัยจากงบประมาณกองทุนสนับสนุนและ ส่งเสริมการวิจัยของม...

10 downloads 127 Views 307KB Size
กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยนี้สาเร็จลุล่วงไปด้วยดีด้วยการสนับสนุน ทุนวิจัยจากงบประมาณกองทุนสนับสนุนและ ส่งเสริมการวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ขอขอบพระคุณ ประชาชนกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ายมทั้ง 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก และ พิจิตร รวมถึงผู้นาชุมชน เจ้าหน้าที่เทศบาล และเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตาบล ที่ได้เสียสละเวลาให้ ความร่ว มมือในการสัมภาษณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทาวิจัยได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง ขอบคุณคณะทางานและนางสาวอุษณีย์ ทิมสูงเนิน ผู้ช่วยนักวิจัยที่ทางานด้วยความตั้งใจและเสียสละเวลา อย่างมากจนทาให้งานวิจัยสาเร็จลุล่วงไปด้วยดี ขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิ ที่กรุณาให้คาแนะนาและ ข้อเสนอแนะจนทาให้งานวิจัยฉบับนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอกราบขอบพระคุณบิดา-มารดาของข้าพเจ้าที่คอย ดูแลและให้กาลังใจระหว่างการทาการศึกษาวิจัย และขอขอบคุณพระเจ้าที่ทาให้ทุกอย่างราบรื่นและสาเร็จ ลงได้ด้วยดี ปิยะดา วชิระวงศกร 21 กันยายน 2558

หน้า | ฉ

หัวข้องานวิจัยเรื่อง

การบริหารจัดการทรัพยากรน้าและระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกัน

ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ายมตอนล่าง ชื่อผู้วิจัย ดร.ปิยะดา วชิระวงศกร ดร.ณัฏฐินี ดีแท้ นางสาวแพรชมพู ประเสริฐศรี นางสาวชิดชนก แก้วละมุล คณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม ได้รับทุนการวิจัย งบประมาณกองทุ น สนั บ สนุ น และส่ ง เสริ ม การวิ จั ย มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ พิ บู ล สงคราม ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 จานวนเงิน 300,000 บาท ระยะเวลาทาการวิจัย 1 ปี ตั้งแต่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ถึง 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 คาสาคัญ ลุ่มน้ายม แผนการจัดการทรัพยากรน้า การบริหารแบบมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วม ของประชาชน และอุทกภัย

บทคัดย่อ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการบริหารจัดการทรัพยากรน้าและระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการ แก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ายมตอนล่าง ซึ่งได้ศึกษาในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตร โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ใหญ่บ้านจานวน 48 คน และเจ้าหน้าที่เทศบาล/อบต. ทั้งสิ้น 10 แห่ง จานวน 20 คน และใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งจานวน 861 คน ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สาหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์หาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การ ทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ายมส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากแม่น้ายมในการทาการเกษตรมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 26.36 รองลงมา ได้แก่ ทาประมง คิดเป็นร้อยละ 2.44 และใช้น้าในการอุปโภค-บริโภค คิดเป็น ร้อยละ 2.21 ตามลาดับ ปัจจุบันประชาชนในพื้นที่มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะน้าแล้งมากกว่า ปัญหาน้าท่วมซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะประชาชนสามารถเตรียมพร้อมรับมือและปรับการ ดาเนินชีวิตในช่วงน้าท่วมได้อย่างดี ถึงแม้ว่าพื้นที่การเกษตรจะถูกทาลายแต่ก็ยังมีรายได้จากการหาปลา เป็นรายได้เสริม การจัดการปัญหาน้าท่วมในพื้นที่ในช่วงเกิดปัญหาจะเป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งภาครัฐมีส่วนร่วมในการดาเนินการเกือบทั้งหมดโดยเฉพาะผู้ใหญ่บ้าน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยประชาชนมีความพึงพอใจในการดาเนินการแก้ไขปัญหาน้าท่วมของ ผู้ใหญ่บ้านและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงระดับการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการแก้ไขปัญหาท่วมในแต่ละด้าน พบว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนมีเพียงในส่วนของ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง ( ̅ =2.53) แต่ไม่พบว่าประชาชนมีส่วนร่วมในการกาหนด ปัญหา การวางแผนแก้ไขปัญหา การดาเนินการ และการติดตามประเมินผล ( ̅ ≤0.83) โดยปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ายมตอนล่าง คือ อายุ ตาแหน่งในชุมชน อาชีพหลัก และรายได้ หน้า | ช

Research Title Author

Faculty Institute Year Keywords

Water management and community participation level base flood problem in lower Yom river basin Dr.Piyada Wachirawongsakorn Dr.Natthinee Deetae Miss.Praechompoo Prasertsri Mrs.Chidchanok Kaewlamol Science and Technology Pibulsongkarm Rajabhat University 2015 Yom River Basin, Water Resources Management, Plan Participation Management, Public Participation and Flood

ABSTRACT This research was to study water resource management and level of public participation correlated flood problems solving in Yom river basin. The study areas were carried out in four provinces including Prae, Sukhothai, Phitsanulok and Phichit. Deep interview was used for 48 heads of village and 20 staffs of Local Administration Organizations. Questionnaire was used as instrument for 861 voters by accidental sampling. For data analysis, SPSS program was utilized to analyze for percentage of frequency, means, Standard Deviation, Pearson Product Moment Correlation Coefficient, T-test, One-way ANOVA and Scheffe’s Post hoc Comparison Method. The results showed that most of local population used water in Yom River for agriculture (26.36%), followed by fishery (2.44%) and consumption (2.21%), respectively. Nowadays, people living in these areas prone to face drought impacts much more than simply flood problem. This is probably because people can prepare and adapt the lifestyles under the flood situation as well. Although agricultural areas will be destroyed, but there are also income from fishing as an unearned income. Flood problem management in the area during flooding been defined as collaboration between government sector, private sector and public sector. The government sector is almost involved in all the implementation of flooding solving particularly village headmen and local government authorities. Their implementation of flooding problem solutions satisfied the local people in moderate level. When considering public participation related flooding problem solution in each dimension, it found that local people only had participated in term of the information perception which in moderate level ( ̅ =2.53), while there was no public participation in problem definition, flood solution planning, implementation and evaluation ( ̅ ≤0.83). The influential factors for public participation on flood management in Yom river basin were age, position in the community, occupation and income. หน้า | ซ